วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระธาตุนาดูน



ประวัติพระธาตุนาดูน
               
ในปีพุทธศักราช 2522 กรมศิลปากรและราษฎรในตำบลนาดูน ได้ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุจากเนินดินซึ่งเป็นซากโบราณสถาน ในบริเวณที่นาของราษฎรท้องที่หมู่ที่ 1 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม พระบรมสารีริกธาตุมีสัณฐานดังเกล็ดแก้ว ประดิษฐานนผอบ 3 ชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน ชั้นนอกเป็นสำริด สวมซ้อนกันเรียงตามลำดับ และบรรจุอยู่ในสถูปจำลองอีกชั้นหนึ่ง เป็นสถูปโลหะทรงกลมสูง 24.4 เซนติเมตร ถอดออกเป็น 2 ส่วน ส่วนยอดสูง 12.3 เซนติเมตร ส่วนองค์สถูปสูง 12.1 เซนติเมตร
                ชาวจังหวัดมหาสารคาม ดำริว่า อุบัติการณ์ของพระบรมสารีริกธาตุครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดีแก่ชาวจังหวัดมหาสารคามอย่างยิ่ง สมควรสร้างพระสถูปเจดีย์ประดิษฐานไว้ให้ถาวรมั่นคง เป็นปูชนียสถานและสิริมงคลแก่ภูมิภาคนี้ต่อไป และเพื่อสืบทอดพระบวนศาสนาตามแนวทางแห่งบรรพชน จึงจัดสร้างโครงการพุทธมณฑลอีสานขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่พุทธศักราช 2525 2529 ประกอบด้วยสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระธาตุนาดูนที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์พิพิธภัณฑวัฒนธรรมจำปาศรี เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาณาจักรจำปาศรีนครโบราณของบริเวณนี้ซึ่งอยู่ในสมัยทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 16 ประกอบด้วย วัด สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ศาลาพัก  แหล่งน้ำ และถนน กำหนดพื้นที่ก่อสร้าง ณ โคกดงเค็ง มีปริมณฑล 902 ไร่เศษ
                เจดีย์พระธาตุนาดูนมีลักษณะประยุตก์จากสถูปจำลองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ   กับลักษณะศิลปกรรมแบบทวารวดี ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยกรมศิลปากร สูงส 50.50 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรัส 35.70 เมตร พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2528 ก่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 7
,580,00 บาท      ครั้นวันที่ 12 พฤศจิกายน  พุทธศักราช 2530  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรา     ลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีอัญเชิญ    พระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุในองค์เจดีย์พระธาตุนาดูนนี้

การก่อสร้างพระธาตุนาดูน และการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
               
นับตั้งแต่ได้ขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุต่างๆ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 และเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นเวลานานหลายปี รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 7,580,000 บาท เพื่อสร้างพระธาตุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยกรมศิลปากร ได้ให้นายประเสริฐ สุนทโรวาท สถาปนิก กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบและว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวกรก่อสร้าง เป็นผู้ทำการก่อสร้าง ตามสัญญาจ้างเลขที่ 14/2528 ลงวันที่ 12 กันยายน 2528 กำหนดแล้วเสร็จบริบูรณ์ในวันที่ 24 มกราคม 2530
4.1 สถานที่ตั้ง
               
ตั้งอยู่ ณ โคกดงเค็งที่ป่าสาธารณะ ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ในเนื้อที่ 902 ไร่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ขุดพบไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน ไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร
                เหตุผลที่ไม่ตั้งอยู่ที่ขุดพบ เพราะที่ขุดพบเป็นที่นาของราษฎรมีเนื้อที่ขนาดเล็ก เป็นที่ลุ่ม จะต้องซื้อที่ดินเพิ่มและถมดินขึ้นอีก ส่วนที่แห่งใหม่เป็นที่เนินสูง เนื้อที่กว้างขวางเหมาะที่จะตั้งพระธาตุ และขยายหน่วยงานของราชการได้อีกมาก
4.2 ลักษณะโครงสร้างพระธาตุนาดูน
               
รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบมาจากสถูปทองสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวารวดี ฐานกว้าง 35.70 x 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่ไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่างๆ จำลองแบบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป้นแบบนูนสูงประดับที่ฐานจำนวน 40 ตัว
               
ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปถึงชั้นที่ 1 สูง 3.70 เมตร
               
ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานทั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
               
ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นโดยรอบสำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียงทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป  ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน
               
ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบสำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง  เซรามิก 6 เหลี่ยม  ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
               
ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้หมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง
               
ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สี่ 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง
                ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10 มีความสูง 11.00 เมตร เป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุ โดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด    16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ส่วนชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด
                ชั้นที่ 11 เป็นชั้นบังลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบังลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด
                ชั้นที่ 14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูงส 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉนมีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ตัวปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วย  หินล้าง
                ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และชั้นฉัตรยอด โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วยหินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้ว    สีทอง
                4.3 การวางศิลาฤกษ์
               
วันที่ 21 ธันวาคม 2528 เวลา 14.49 น. ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ การวางศิลาฤกษ์พระธาตุนาดูน ไม่ได้วางในระดับพื้นดิน แต่จะวางศิลาฤกษ์ระหว่างคานรัดเสาตรงกลางพระธาตุสูงประมาณ 2.50 เมตร คือ หมายความว่า ได้ก่อสร้างฐานราก คานคอดิน เสารับคานและคานรัดเสาเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้วางศิลาฤกษ์



                4.4 การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
               
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2530 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ์ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีอัญเชิญ     พระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุไว้ในองค์เจดีย์พระธาตุนาดูนบนแทนชั้นที่ 8 พร้อมด้วยสถูปจำลองพระเครื่อง วัตถุสิ่งของ และแผ่นเงินจารึกขนาดกว้าง 9 x 12 ข้อความทั้งหมดมี 28 บรรทัด     มีข้อความดังนี้
                4.5 สักขีพยานในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระธาตุนาดูน
               
ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุไว้ในองค์เจดีย์พระธาตุนาดูนนั้น มีเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานเป็นสักขีพยานในการบรรจุ ดังนี้
                1.            ร.ต.ต.สุเทพ เกษตรทอง รองสารวัตรสถานีตำรวจภูธรอำเภอนาดูน
                2.            ร.ต.ต.ชูศักดิ์ แก้วบุดดา รอง สว.ป.สภอ.พยัคฆภูมิพิสัย
                3.            นายสังเขต นาคไพจิตร
                4.            นายวีรพงษ์ สิงหบัญชา
                5.            นายสมบูรณ์ บุญทองเถิง
                6.            นายสำรวย มิ่งขวัญ
                7.            นายเล็ก แซ่อึ้ง
                8.            นายสนับ คำโต
                9.            นายสำลี ประทุมทอง
                10.          นายบุญเรือง ล้ำเลิศ
                11.          นายสวาท ปัตตายโส
                12.          นายบุญยัง ชื่นทิม
                13.          นายทองมา คุณโน
                สักขีพยานทั้งหมดได้พร้อมกันอัญเชิญสถูปพระบรมสารีริกธาตุ สถูปจำลองแผ่นเงินจารึก และพระพิมพ์ขึ้นไว้บนแท่น ได้เก็บวัตถุสิ่งของที่ประชาชนนำไปสมทบวางรายรอบแทน เสร็จเวลา 16.10 น. ปิดประตูเวลา 16.30 น. ก่ออิฐทับประตูเสร็จเวลา 17.13 น.
                วันที่ 24 มกราคม 2531 คุณทองดี หรรษคุณารมณ์ คหบดี มีจิตศรัทธาได้สร้างเจดีย์หินอ่อนจำลองพระธาตุนาดูน มีขนาดฐานกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 80 เซนติเมตร บรรจุพระอรหันตธาตุพุทธสาวกองค์สำคัญไว้ในเจดีย์หินก่อนจำลองนี้ พร้อมด้วยพระพุทธรูปบูชา พระเครื่องและวัตถุสิ่งของอื่นๆ ไว้บนแท่นวางศิลาฤกษ์ ซึ่งได้ต่อเติมพื้นที่ออกไปอีก 1 ห้อง